วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย

สรุปการติดตั้งระบบเครือข่ายแบบไร้สาย
ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LANs) เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971 บนเกาะฮาวาย โดยโปรเจกต์ ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า “ALOHNET” ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 7 เครื่อง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะโดยรอบ และมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆหนึ่ง ที่ชื่อว่า Oahuระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สายที่สำคัญก็คือ การที่มันไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้ โลกของเราเป็นยุคแห่งการติดต่อสื่อสาร เทคโนโลยีต่างๆ เช่นโทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน ความต้องการข้อมูลและการบริการต่างๆ มีความจำเป็นสำหรับนักธุรกิจ เทคโนโลยีที่สนองต่อความต้องการเหล่านั้น มีมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค เครื่องปาร์ม ได้ถูกนำมาใช้เป็นอย่างมากและ ผู้ที่น่าจะได้ประโยชน์จากการใช้ ระบบเครือข่ายไร้สาย มีมากมายไม่ว่าจะเป็น - หมอหรือพยาบาลในโรงพยาบาล เพราะสามารถดึงข้อมูลมารักษาผู้ป่วยได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค ที่เชื่อมต่อกับ ระบบเครือข่ายไร้สายได้ทันที - นักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็สามารถใช้งานโน็ตบุคเพื่อค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย หรือใช้อินเตอร์เน็ท จากสนามหญ้าในมหาลัยได้- นักธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ที่ทำงานปกติ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองานยังบริษัทลูกค้า หรือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ติดตัวไปงานประชุมสัมมนาต่างๆ บุคคลเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรซึ่งอยู่ห่างออกไปหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายจึงน่าจะอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลเหล่านี้ได้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปิดให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ตามสนามบินใหญ่ทั่วโลก และนำมาใช้งานแพร่หลายในห้างสรรพสินค้า และโรงแรมต่างๆแล้ว
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย

1. mobility improves productivity & service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน หรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล

2. installation speed and simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง

3. installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน๊ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที
4. reduced cost- of-ownership ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา และการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง

5. scalability เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งาน โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก
ระบบเครือข่ายไร้สาย เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ไม่มากนัก และมักจำกัดอยู่ในอาคารหลังเดียวหรืออาคารในละแวกเดียวกัน การใช้งานที่น่าสนใจที่สุดของเครือข่ายไร้สายก็คือ ความสะดวกสบายที่ไม่ต้องติดอยู่กับที่ ผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้โดยที่ยังสื่อสารอยู่ในระบบเครือข่าย
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย
2.1 Peer-to-peer ( ad hoc mode )










รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุม, หรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่

2.2 Client/server (Infrastructure mode)













ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต, ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น

2.3 Multiple access points and roaming













โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง



2.4 Use of an Extension Point












กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหาผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้ Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ

2.5 The Use of Directional Antennas






ระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคารที่อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกัน

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ส้มตําไทย


ส้มตำไทย



ส่วนผสมส้มตำไทย

มะละกอดิบ 1 ลูก
กระเทียม 5-6 กลีบ
พริกขี้หนู 5-6 เม็ด
มะเขือเทศผ่าครึ่ง 2 ลูก
ถั่วลิสงคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
ถั่วฝักยาวหั่น 1 ฝัก
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
กุ้งแห้ง 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว หรือ
น้ำมะขามเปียก 1

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

กุ่มบก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crateva adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs

ชื่อสามัญ : Sacred Barnar, Caper Tree

วงศ์ : Capparaceae

ชื่ออื่น : ผักกุ่ม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 7-9 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7.5-11 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ขอบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-5 มม. เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกสีขาวอมเขียวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูอ่อน รูปรี กว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.2-1.8 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 3-7 มม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-22 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม. รังไข่ค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ผลกลม

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

« เมื่อ: 16 ตุลาคม 2551, 00:08:44 »

line

ตะไคร้ (Lemongrass) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Staph ชื่อท้องถิ่น จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) เชิดเกรย ,เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย และในทวีปอเมริกาใต้

โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่

1. ตะไคร้กอ
2. ตะไคร้ต้น
3. ตะไคร้หางนาค
4. ตะไคร้น้ำ
5. ตะไคร้หางสิงห์
6. ตะไคร้หอม


เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป


ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก ถ้าปลูกในกระถางใช้วิธีปักโคนลงในกระถางๆละ 2-3 ต้นก็ได้ แล้วหมั่นรดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้เร็ว ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำเสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด เวลาจะใช้ก็ให้ตัดที่โคนสุดส่วนรากเลย แล้วถอนออกมาทั้งต้นตามต้องการ ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้างหรือเอาไปใช้บ้าง จำนำมาหั่นเป็นฝอยๆ ตากแดดให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นานๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อยๆ และบางที่ก็แคระแกร็น ต้นและกอก็จะโทรม ต้องล้างและปลูกใหม่ทั้งหมด


แกงเขียวหวานลูกชินปลากราย

วิธีทำ แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย

Your Vote Rating 9.1 from 47 users
จำนวนผู้เข้าชม 80630 ครั้ง
See All Comments







Axen AirCard Hi-End Siemens Chipset ราคาใกล้เคียงแอร์การ์ดจีน



แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย



ลูกชิ้นปลากราย

เนื้อปลากรายขูด 4 ถ้วยตวง
รากผักชีซอยละเอียด 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมซอยละเอียด 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยเม็ด 24 เม็ด
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
น้ำ 3 ช้อนโต๊ะ


หัวกะทิ

1 3/4 ถ้วยตวง
มะพร้าวขูด 15 3/4 ถ้วยตวง


หางกะทิ

5 1/2 ถ้วยตวง
มะพร้าว ที่เหลือจากหัวกะทิ
น้ำ 6 ถ้วยตวง


ส่วนผสมพริกแกง

พริกขี้หนูสีเขียว 20 เม็ด
พริกสด สีเขียว (พริกชี้ฟ้า) 7 เม็ด
กระเทียมซอย 2 3/4 ช้อนโต๊ะ (24 กลีบ)
หอม แดงซอย 2/34 ช้อนโต๊ะ (6 หัว)
ตะไคร้หั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
ข่าหั่น ละเอียด 1 3/4 ช้อนชา
กระชายปอกเปลือกหั่น 2 ช้อนโต๊ะ
ผิวมะกรูด หั่นละเอียด 2 ช้อนชา
ลูกผักชี 1 ช้อนโต๊ะ
ยี่หร่า 1/2 ช้อนชา
เกลือ ป่น 3/4 ช้อนโต๊ะ
กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยเม็ด 30 เม็ด
ราก ผักชีซอยละเอียด 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
พริกเหลือง 2 เม็ด


ผัก

มะเขือเปราะ (ผ่า 8 ส่วน) 8 ลูก
(Ø 3 เซนติเมตร ต่อ 1 ลูก)
มะเขือพวง 1 ถ้วยตวง + 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
(117 ลูกขนาด Ø 1 เซนติเมตรต่อ 1 ลูก)
พริก ชี้ฟ้าแดงหั่นเฉียง 1/3 ถ้วยตวง
(6 เม็ด 42 ชิ้น)
กระชายซอยเป็น เส้นยาวๆ 1 1/2 ถ้วยตวง
ใบมะกรูดฉีก (ใบอ่อน) 10 ใบ
โหระพาเด็ดเป็น ใบๆ 1 1/2 ถ้วยตวง
น้ำตาลปี๊ป 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำพริกแกง

1.ลูก ผักชีคั่วให้หอม ยี่หร่าคั่วให้หอม ป่นละเอียด แยกพักไว้

2. โขลกพริกไทยให้ละเอียดใส่รากผักชี ข่า ผิวมะกรูด ตะไคร้โขลกละเอียด ใส่พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกเหลือง เกลือป่น โขลกรวมกันให้ละเอียด ตามด้วยกระชาย หอม กระเทียม กะปิ โขลกรวมกันทั้งหมดจนละเอียด ใส่ลูกผักชี ยี่หร่าที่เตรียมไว้ผสมลงไปในน้ำพริกแกงทั้งหมดโขลกให้เข้ากัน


วิธีทำลูกชิ้นปลากราย

1.เนื้อปลากราย (ควรเป็นปลาที่สดเนื้อปลาสีชมพู ลูกชิ้นจึงจะเหนียว) ขูดเลือกก้างออกให้หมดแช่ในอ่างน้ำแข็งเพื่อให้สด

2.โขลกพริกไทย รากผักชี กระเทียมให้ละเอียด ผสมกับเนื้อปลานวดให้เข้ากัน

3.ละลาย เกลือกับน้ำ ค่อยๆ นวดปลาในอ่างให้เหนียวผสมกับน้ำเกลือทีละน้อยจนหมดขณะที่นวดปลาให้เป็นเนื้อ เดียวกัน
ต้องแช่ปลาในอ่างที่มีน้ำแข็งอยู่ด้วยอีกชั้นเพื่อทำให้ปลาสด และมีความเหนียวสลับกับ
การนวดปลาไปเรื่อยๆ จนกว่าเนื้อปลาจะเหนียว และสีของเนื้อปลาจะเป็นเงาใสแสดงว่าได้ที่แล้ว ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

4.ใช้ ช้อนตักเนื้อปลาให้เป็นลูกกลมแบนแตะน้ำเปล่าเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ติดมือ ต้มในน้ำเดือด (ถ้าต้องการให้เนื้อปลาเป็นสีขาว ควรใส่น้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย) เมื่อลูกชิ้นปลายลอยขึ้นแสดงว่าสุกแล้ว ตักขึ้นใส่น้ำเย็น


วิธีทำ แกงเขียวหวาน

1.คั้นมะพร้าวเป็น 2 ส่วน หัวกะทิและหางกะทิ หัวกะทิคั้นไม่ใส่น้ำ หางกะทิใช้มะพร้าวที่เหลือจากหัวกะทิ ใส่น้ำครั้งละ 2 ถ้วยตวง คั้นหางกะทิ 3 ครั้ง คั้นทีละน้อยเพื่อให้ได้หางกะทิที่มีนและเข้มข้น นำหัวกะทิไปเคี่ยวให้แตกมัน หางกะทิตั้งไฟให้เดือด เพื่อคงความสด และไม่เหม็นหืน ขณะที่รอเตรียมเครื่องปรุงอื่นอยู่ เพื่อพร้อมที่จะแกงได้ทันที

2.นำหัวกะทิที่เคี่ยวแตกมันแล้วใส่กะทะ ประมาณ 2 ทัพพี

3.นำพริกแกงที่โขลกไว้มาผัดกับหัวกะทิที่เคี่ยวแตก มันแล้ว ใช้ไฟอ่อน ผัดจนหอมเติมหัวกะทิไปเรื่อยๆ จนหมดคนให้ทั่วอย่าให้ไหม้จนมันลอยขึ้นมา (หรือที่เรียกว่า แตกมัน) ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

4. นำลูกชิ้นที่ต้มแล้วมาผัดกับน้ำพริกแกง ใส่กระชายซอยผัดให้ทั่ว

5. เทใส่ในหม้อหางกะทิที่เดือดแล้ว ตั้งให้เดือดอีกครั้ง

6. ใส่มะเขือพวง พอใกล้สุกจึงใส่มะเขือเปราะ ใบมะกรูด พริกชี้ฟ้า

7. ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊ป น้ำปลา ให้เดือดอีกครั้งปิดไฟ ใส่ใบโหระพา แล้วจึงยกลง